เมนู

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอุปจารแห่งกรรมฐาน ต่างโดยกรณียะ
และอกรณียะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก่ภิกษุผู้อยู่ป่า ซึ่งประสงค์จะบรรลุสันตบท
แล้วอยู่หรือประสงค์ปฏิบัติ เพื่อบรรลุสันตบทนั้น และแก่พวกภิกษุผู้ประสงค์จะ
รับกรรมฐาน อยู่แม้ทุกรูป โดยยกภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นสำคัญ ด้วยสองคาถาครึ่ง
นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงทรงเริ่มตรัสเมตตากถา โดยนัยว่า สุขิโน ว่า เข-
มิโน โหนฺตุ
เป็นต้น เพื่อเป็นปริตรกำจัดภัยแต่เทวดานั้น และเพื่อเป็น
กรรมฐาน โดยฌานเป็นบาทแห่งวิปัสสนา แก่ภิกษุเหล่านั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน ได้แก่ ผู้พรั่งพร้อมด้วยสุข.
บทว่า เขมิโน แปลว่า ผู้มีความเกษม. ท่านอธิบายว่าผู้ไม่มีภัย ไม่มีปัทวะ
บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่เหลือเลย. บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์มีชีวิต
บทว่า สุขิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตถึงสุข. ก็ในคำนี้ พึงทราบว่า ชื่อว่าผู้มี
สุข โดยสุขทางกาย. ชื่อว่ามีจิตถึงสุข โดยสุขทางใจ, ชื่อว่ามีความเกษม
แม้โดยสุขทั้งสองนั้น หรือโดยไปปราศจากภัยและอุปัทวะทั้งปวง. ก็เหตุไร
จึงตรัสอย่างนี้. ก็เพื่อแสดงอาการแห่งเมตตาภาวนา. ก็เมื่อเป็นอย่างนี้ จึงควร
เจริญเมตตาว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงมีสุข ดังนี้บ้าง ว่า จงมีความเกษม
ดังนี้บ้าง จงเป็นผู้มีตนถึงสุข ดังนี้บ้าง.

พรรณนาคาถาที่ 4


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยสังเขป ตั้งแต่
อุปจารจนถึงอัปปนาเป็นที่สุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเมตตาภาวนา
นั้น แม้โดยพิศดาร จึงตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง
เพราะเหตุที่จิตถูกสะสมอยู่ในอารมณ์มาก ๆ ย่อมไม่หยุดอยู่ในอารมณ์เดียว
โดยเบื้องต้นเท่านั้น แต่จะแล่นติดตามประเภทอารมณ์โดยลำดับ ฉะนั้น จึง
ตรัสสองคาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น เพื่อจิตที่แล่นติดตามไปแล้วหยุดอยู่ ใน

อารมณ์อันเป็นประเภทแห่งทุกะหมวดสองแห่งสัตว์และติกะหมวดสามแห่งสัตว์
มีตสถาวรทุกะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่อารมณ์ใด ของผู้ใดเป็น
อารมณ์ที่ปรากฏชัดแล้ว จิตของผู้นั้น ย่อมตั้งอยู่เป็นสุขในอารมณ์นั้น ฉะนั้น
อารมณ์ใดของภิกษุรูปใดในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้ว พระผู้มีพระภาค
เจ้ามีพระพุทธประสงค์จะให้จิตของภิกษุรูปนั้น ตั้งอยู่ในอารมณ์นั้น จึงตรัสสอง
คาถาว่า เยเกจิ เป็นต้น อันแสดงความต่างแห่งอารมณ์เป็นทุกะและติกะ
มีตสถาวรทุกะ เป็นต้น.
ความจริง ในสองคาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทุกะ หมวด
สองแห่งสัตว์ 4 ทุกะ คือ ตสถาวรทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้สะดุ้งและ
ผู้มั่นคง. (ไม่สะดุ้ง) ทิฏฐาทิฏฐทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่ตนเห็นแล้ว
และผู้ที่ตนยังไม่เห็น ทูรสันติกทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่อยู่ไกลและ
ผู้ที่อยู่ใกล้ ภูตสัมภเวสีทุกะ หมวดสองแห่งสัตว์ ผู้ที่เกิดแล้วและผู้ที่แสวง
หาที่เกิด. และทรงแสดงติกะ หมวดสามแห่งสัตว์ 3 ติกะ. คือ ทีฆรัสสมัช-
ฌิมติกะ
หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพยาวต่ำและปานกลาง มหันตาณุก-
มัชฌิมติกะ
หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพใหญ่เล็กและปานกลาง ถูลา-
ณุกมัชณมติกะ
หมวดสามแห่งสัตว์ ผู้มีอัตภาพอ้วน ผอมและปานกลาง
โดยมัชฌิมบทเป็นที่เกิดประโยชน์ใน 3 ติกะ และอณุกถูลบทเป็นที่เกิด
ประโยชน์ใน 2 ติกะ ด้วยบท 6 บท มีทีฆบทเป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น
บทว่า เยเกจิ เป็นคำแสดงว่าไม่มีส่วนเหลือเลย. หมู่สัตว์ที่เกิดแล้วคือ
ปาณะ ชื่อว่า ปาณภูตะ. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมหายใจ เหตุนั้น
จึงชื่อว่า ปาณะ. ทรงถือเอาปัญจโวการสัตว์ ที่เนื่องด้วยอัสสาสปัสสาสะ
ลมหายใจเข้าออก ด้วยบทนี้. สัตว์ทั้งหลายย่อมเกิด เหตุนั้น จึงชื่อว่า
ภูต. ทรงถือเอาเอกโวการ. สัตว์และจตุโวการสัตว์ด้วยบทนี้. บทว่า อตฺถิ
แปลว่า มี มีพร้อม.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัตว์ทั้งปวง ที่ทรงสงเคราะห์ด้วย
ทุกะและติกะรวมกัน ด้วยคำว่า เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ นี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้
ทรงสงเคราะห์สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด แสดงด้วยทุกะนี้ว่า ตสา วา ถาวรา
วา อนวเสสา.

ในทุกะนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมสะดุ้ง เหตุนั้น จึงชื่อว่า ตสา คำนี้เป็น
ชื่อของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีตัณหาและมีภัย. สัตว์ทั้งหลาย ย่อมมั่นคง เหตุนั้น
จึงชื่อว่า ถาวรา คำนี้เป็นชื่อของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ละตัณหาและภัยได้
แล้ว. ส่วนเหลือของสัตว์เหล่านั้นไม่มี เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนวเสสา ท่าน
อธิบายว่า แม้ทุกตัวสัตว์. ก็คำใด ตรัสไว้ท้ายแห่งคาถาที่ 2 คำนั้น พึงเชื่อม
กับทุกทุกะและติกะ. บทว่า เยเกจิ ปาณภูตตฺถิ ความว่า สัตว์ทั้งหลายที่สะดุ้ง
กลัวก็ดี ที่มั่นคงก็ดี ไม่เหลือเลย สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมด จงเป็นผู้มีตนถึงสุข
หมู่สัตว์ที่เกิดแล้วก็ดี แสวงหาที่เกิดก็ดี เพียงใด สัตว์ทั้งหมดแม้เหล่านี้เพียง
นั้น จงเป็นผู้มีตนถึงสุขเถิด ด้วยประการฉะนี้.
บัดนี้ บรรดาบททั้ง 6 มี ทีฆา วา เป็นต้น ที่แสดงติกะ 3 หมวด
มี ทีฆรัสสมัชฌิมติกะ เป็นต้น. บทว่า ทีฆา ได้แก่ สัตว์ที่มีอัตภาพยาว
มีนาค, ปลา, เหี้ยเป็นต้น จริงอยู่ อัตภาพของนาคทั้งหลายในมหาสมุทร
แม้มีขนาดหลายร้อยวา. อัตภาพของปลาและเหี้ยเป็นต้น ก็มีขนาดหลายโยชน์
บทว่า มหนฺตา ได้แก่ สัตว์มีอัตภาพใหญ่ ในน้ำก็มีปลาและเต่า บนบก
ก็มีพระยาช้างเป็นต้น ในจำพวกอมนุษย์ ก็มีทานพเป็นต้น และตรัสว่า ราหู
เป็นยอดของสัตว์ที่มีอัตภาพทั้งหลาย. จริงอยู่ อัตภาพของราหูนั้น สูง
4,800โยชน์ แขน 1,200 โยชน์ ระหว่างคิ้ว 50 โยชน์ ระหว่างนิ้วก็
เหมือนกัน ฝ่ามือ 200 โยชน์แล. บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ อัตภาพของม้า
โคกระบือสุกรเป็นต้น. บทว่า รสฺสกา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย มีขนาดต่ำ
ตรงกลางยาว ตรงกลางอ้วน มีคนแคระเป็นต้น ในชาตินั้น ๆ บทว่า อณุกา

ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่อัตภาพรละเอียด หรือเล็กเป็นต้น ที่บังเกิดในน้ำเป็น
ต้น ไม่เป็นอารมณ์ของมังสจักษุ เป็นวิสัยของทิพยจักษุ. อนึ่ง สัตว์เหล่าใด
มีขนาดต่ำ ตรงกลางใหญ่ และตรงกลางอ้วนในชาตินั้น. ๆ สัตว์เหล่านั้น พึง
ทราบว่า เล็ก. บทว่า ถูลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย ที่มีอัตภาพกลม มีปลา
เต่า หอยกาบ หอยโข่ง เป็นต้น.

พรรณนาคาถาที่ 5


พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงสัตว์ทั้งหลายไม่เหลือด้วยติกะ 3 ติกะ
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงสงเคราะห์แสดงด้วยทุกะ 3 ทุกะ ว่า ทิฏฺฐา วา เย
จ อทิฏฺฐา
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺฐา ได้แก่ สัตว์เหล่าใด เคยเห็น
โดยมาปรากฏแก่ตาของตน บทว่า อทิฏฺฐา ไก้แก่ สัตว์เหล่าใด ตั้งอยู่ใน
สมุทรอื่นภูเขาอื่นและจักรวาลอื่นเป็นต้น. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสัตว์
ที่อยู่ไกลและไม่ไกลอัตภาพของตนด้วยทุกะนี้ว่า เย จ ทูเร วสนฺติ
อวิทูเร.
สัตว์เหล่านั้น พึงทราบโดยเป็นสัตว์ไม่มีเท้าและสัตว์ 2 เท้า. ก็เหล่า
สัตว์ที่อยู่ในกายของตน เรียกว่า อวิทูเร อยู่ไม่ไกล เหล่าสัตว์
ที่อยู่นอกกาย เรียกว่า ทูเร อยู่ไกล. อนึ่ง เหล่าสัตว์ที่อยู่ภายใน
อุปจาร เรียกว่า อยู่ไม่ไกล. ที่อยู่ภายนอกอุปจาร เรียกว่า อยู่ไกล. ที่อยู่
ในพระวิหาร ตามชนบท ทวีป จักรวาล เรียกว่า อยู่ไม่ไกล ที่อยู่ใน
จักรวาลอื่น เรียกว่า อยู่ไกล.
บทว่า ภูตา ได้แก่ เกิดแล้ว บังเกิดแล้ว. พระขีณาสพเหล่าใด
เป็นแล้วนั่นแล ไม่นับว่าจักเป็นอีก คำนั้นเป็นชื่อของพระขีณาสพเหล่านั้น.
สัตว์เหล่าใด แสวงหาที่เกิด. เหตุนั้นสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า สัมภเวสี. คำนี้
เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ที่กำลังแสวงหาที่เกิด แม้ในอนาคต